วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

     จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ นักคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ ต้องตระหนักถึงร่วมกัน เพื่อความสงบสุขในสังคมสารสนเทศ สารสนเทศส่วนบุคคล ( Personal Information )ปัจจุบันนี้ทั้งองค์กรของรัฐและเอกชน ล้วนแล้วแต่ได้รับความสะดวกในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ในงานทะเบียนราษฎร โรงพยาบาล สำนักงานทนายความ บริษัทประกันภัย ระบบธนาคาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลมีสิทธ ในข้อมูลของตน องค์กรหรือหน่วยงานมิบังควรเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลสู่สาธารณะชน รวมทั้งการส่งข้อความหรือเอกสารทางอินเตอร์เน็ตระหว่างบุคคล ปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยเพราะอาจมีผู้แอบเปิดจดหมายหรือข้อความส่วนตัวบนระบบเครือข่ายได้ บางกรณีอาจเป็นการใช้สารสนเทศในการทำลายชื่อเสียงหรือหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ บางกรณีหน่วยงานของรัฐอาจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการตรวจสอบภาษีรายได้กรณีที่ไม่จ่ายภาษีตามที่เป็นจริง บางกรณีก็เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบสินค้า หนีภาษีหรือสินค้าต้องห้ามในจำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินต่างๆ จะเห็นได้ว่าเรื่องของสารสนเทศส่วนบุคคล สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงบทบาทและจรรยาบรรณ ในการประกอบอาชีพของตนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime ) อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบทำสำเนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย การขโมยข้อมูลสารสนเทศในขณะที่ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย การแอบใช้รหัสผ่านของผู้มีอำนาจเพื่อเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงาน การแอบใช้อุปกรณ์ เช่น CPU ของระบบเมนเฟรมเพื่องานส่วนตัว การขโมยฮาร์ดแวร์ การทำลายระบบข้อมูล รวมทั้งการปฏิบัติการของกลุ่มที่เรียกว่า hacker ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพยายามเข้าใช้ระบบสารสนเทศของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะการเข้าสู่ระบบเครือข่ายสารสนเทศของผู้อื่นโดยใช้รหัสปลอม เป็นต้น

จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

    จริยธรรม หมายถึง "หลัก ศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการ ใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ แล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า  PAPA ประกอบด้วย

                1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
                2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
                3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
                4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

 จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณต่อตนเอง

1. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
                1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
                1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน


2. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
                2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
                2.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
                2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ


3. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
                3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
                3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
                3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อสังคม

4. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
               4.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
                4.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
                4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

 5. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม

               5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
               5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้


ที่มา : http://bcom-technology.blogspot.com/2012/02/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น