วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

การป้องกันการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ใช่ปัญหาใหม่ที่เพิ่งเป็นประเด็นแต่อย่างใด โดยเฉพาะในต่างประเทศอย่าง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษ หรือ สหรัฐอเมริกามีอายุร่วมร้อยปีมาแล้ว เมื่อมาถึงยุคอินเทอร์เน็ต ปัญหาการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า (ส่วนใหญ่ในกรณีพิพาทเรื่องโดเมนเนม) หรือ ความลับทางการค้า ก็ตามที ดูเหมือนจะกลับมาเป็นปัญหาให้เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และนักกฎหมายต้องมาขบคิดกันอีกครั้งว่า มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ปรับใช้ หรือให้ความคุ้มครองเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตได้เพียงพอหรือไม่

ประเด็นหลักที่จะพิจารณาในเรื่องการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้

เหตุผลในการมีมาตรการพิเศษในการป้องกันลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต
ข้อพิจารณามาตรการป้องกันทางกฎหมาย
มาตรการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ทางเทคนิค กฎหมายที่ใช้การพิจารณาประเด็นข้างต้น เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลในการมีมาตรการพิเศษในการป้องกันลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การผลิตงานพิมพ์ งานเขียนเป็นไปได้เร็วขึ้น เพียงแต่กดปุ่ม ทำซ้ำ "copy" หรือ ใช้วิธีตัดแปะ "cut and paste" ผลงานที่เกิดจากการทำซ้ำ โดยคอมพิวเตอร์นั้นเหมือนงานต้นฉบับมาก เกือบจะไม่มีความแตกต่างกับต้นฉบับเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันราคาถูกลงมาก ประชาชนในฐานะปานกลางสามารถหาซื้อมาใช้ได้ นี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กังวลใจเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะในกรณีที่ ผลงานสร้างสรรค์ถูกจัดเก็บในรูปอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Form อาจมีความเสี่ยงที่จะถูกลักลอบ นำไปทำซ้ำได้ง่าย

เหตุผลข้างต้นก็เป็นที่มาของมาตรการพิเศษทางกฎหมาย และทางเทคนิค ที่ต้องการจะปกป้องสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเผยแพร่งานของตนทางอินเทอร์เน็ต หรือ จัดเก็บงานของตนในรูปดิจิตอล มิให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิดังกล่าว ในสหรัฐอเมริกา มีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง 4 เรื่องหลัก ดังนี้

1. The No Electronic Theft Act 1996 (the NET Act)
2. Digital Millennium Copyright Act 1998 (DMCA)
3. Anti- Circumvention and Anti-Trafficking Rules เป็นมาตรการหนึ่งใน DMCA
4. Copyright Management Information Rules (CMI) เป็นส่วนหนึ่งของ DMCA
The No Electronic Theft Act 1996 (the NET Act)

การจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISPs)
DMCA มิได้ยกเว้นความรับผิดให้แก่ ISPs ทั้งหมด ISPs จะได้รับความคุ้มครองตามข้อจำกัดความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว ก็ต่อเมื่อได้กระทำการป้องกันสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่า ลูกค้าของ ISPs นำงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เสนอ หรือติดในระบบที่ดำเนินการโดย ISPs ซึ่ง ISPs มิได้รู้ว่า ข้อความหรืองานที่นำเสนอนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ กล่าวโดยทั่วไป ตาม DMCA แล้ว ISPs เช่นว่านั้น หามีความรับผิดไม่

อย่างไรก็ตาม หากว่า ISPs ได้รับการแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์ ISPsจะต้องรีบทำการยกเลิก หรือ ป้องกันมิให้มีการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกกล่าวหา นอกจากนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ ยังสามารถขอหมายศาล เพื่อให้ ISPs เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของ ISPs ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรการดังกล่าวช่วยให้ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ตัวจริง ทั้งนี้ยังเป็นการป้องกันมิให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์จากการอาศัยการเป็นบุคคลนิรนามในการทำความผิด

มาตรการการแจ้งและการลบ (Notice and Taking down Approach) ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นงานอันละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ได้มีกำหนดอยู่ในกฎหมายของประเทศอื่น ๆ นอกจาก DMCA ของสหรัฐอเมริกา หากท่านผู้อ่านสนใจในรายละเอียด โปรดพิจารณา มาตรา 4 ของ the European Directive on E-commerce focuses on Liability of intermediary service providers

การจัดการกับข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์ (Copyright Management Information)
การจัดการกับข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์นี้ ถูกบัญญัติไว้ใน Chapter 12 ของ DMCA ข้อเท็จจริงปรากฎว่าคณะร่างบทบัญญัติดังกล่าวนี้ ได้ทำการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีหลายประเภท ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันงานสร้างสรรค์ ที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้นว่า เทคนิคการเข้ารหัส (encryption techniques) เพื่อทำการผสมข้อมูล (scrambling) ของงานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น ภาพดิจิตอล, เพลง หรือ ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ เทคนิคดังกล่าวจะอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์เท่านั้น จึงจะสามารถถอดรหัสได้ การเข้ารหัสดังกล่าวยังเป็นการทำให้แน่ใจได้ว่า ข้อมูลของงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวได้รับการรักษาความปลอดภัยจากผู้ที่พยายามเข้าถึงระบบ หรือ แฮคเอาข้อมูลไป ในระหว่างที่ข้อมูลถูกส่งจากเครือข่ายหนึ่งไปสู่อีกเครือข่ายหนึ่งทางอินเทอร์เน็ต

นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคควบคุมการเข้าถึงได้ (access controls) ระบบนี้อนุญาตให้ใครก็ตาม สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ หากแต่มีการฝัง (embed) ข้อมูลพิเศษไว้ในข้อมูลนั้นๆ เป็นต้นว่า ลายเซ็นดิจิตอล ใช้ในการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูล หรือ ไฟล์ ว่าเป็นงานที่ส่งมาจากผู้ส่งที่แท้จริงหรือไม่ และมิได้ถูกเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีการทดสอบการใช้ "ซองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์" (electronic envelops) ซึ่งบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับผู้สร้างสรรค์, ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์, วันที่สร้างสรรค์งาน, และ

 ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับการอนุญาตให้ใช้ ระบบป้องกันที่คล้ายกันอีกประเภท ก็เช่น การใช้ digital "watermarking" ซึ่งทำเป็นไฟล์พิเศษติดไปกับงานสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ว่าจะมีการพยายามทำซ้ำอย่างไร watermarks นี้ก็ไม่สามารถแยกออกจากงานดังกล่าวได้ วิธีนี้ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถใช้ระบบการค้นหาที่เรียกว่า spiders หรือ robots ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของเซิร์ชเอนจิน (search engines) ในการค้นหางานของตนที่ถูก นำไปใช้ หรือทำซ้ำโดยมิได้รับอนุญาตได้ เพราะ spiders หรือ robots จะวิ่งไปหาข้อมูลที่มี watermarks ฝังอยู่

จะเห็นได้บทบัญญัติการจัดการกับข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์ข้างต้น กฎหมายมีเจตนารมย์ที่จะให้ความคุ้มครอง มาตรการทางเทคโนโลยี ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ในการปกป้องสิทธิของตัวเอง ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าว มิได้เป็นการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ในรูปแบบที่เพิ่มเติมพิเศษของงานสร้างสรรค์แต่อย่างใด DMCA เพียงแต่ทำให้ ความพยายามที่จะเจาะระบบป้องกันการทำซ้ำงานสร้างสรรค์กลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การละเมิดบทบัญญัติเช่นว่านี้ มีกำหนดโทษขั้นสูงทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ค่าปรับสูงถึง $500,000 และจำคุกสูงสุด ห้าปีสำหรับการกระทำผิดครั้งแรก

โดยรวมเราจะเห็นว่ามาตรการการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานที่เผยแพร่ทางกฎหมายนั้น ต้องมีทั้งมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวด และมาตรการทางเทคนิคที่ประสิทธิภาพ ในการจัดการกับผู้กระทำผิด ในยุคดิจิตอล ที่น่าสังเกตเป็นพิเศษ ก็คือ ในกรณีที่สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการใช้มาตรการทางเทคนิคให้สัมฤทธิ์ผลในการป้องกันการลักลอบใช้ หรือลักลอบทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นแนวทางที่หลายประเทศกำลังเดินตาม



ขอขอบคุณ  www.geocities.com  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลสาธารณะ
ที่มา : http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=2123

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น