วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การป้องกันอาชญากรรม คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


สังคม สารสนเทศเป็นสังคมใหม่ การอยู่ร่วมกันในสังคมสารสนเทศ จำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทุกวันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวัน มีการใช้คอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อมีกฎหมายแล้ว ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธ ความผิดว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้

ทำไมจึงต้องมีการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน อัตโนมัติ ตลอดจนเครื่องมือสื่อสารเพื่อการประกอบกิจการงานและการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเทคโนโลยีเอื้อประโยชน์ ต่อการทำงานด้านต่าง ๆ ทำให้มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ การมีกฎหมายจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce E-Business) โดย ที่นานาชาติที่พัฒนาแล้วต่างพัฒนากฎหมายของตนเอง โดยเน้นความเป็นสากลที่จะติดต่อค้าขายระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นกัน
หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสถานการทำงานขององค์กรทั่วไป ทุกองค์กรกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ มีความพยายามที่จะลดการใช้กระดาษเอกสาร หันมาใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แทน และนำมาแลกเปลี่ยน (EDI) กันได้ง่าย ขณะเดียวกันการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การฝากถอนเงินอัตโนมัติ การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน มีการซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการบริหารรายการย่อยขององค์กร ผ่านทางเครือข่าย มีการทำงานระบบออนไลน์ ที่สามารถเปิดบริการการทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

    1.  การเงิน  –  อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)

    2. การละเมิดลิขสิทธิ์  –  การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

    3. การเจาะระบบ  –  การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)

    4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์  –  ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

    5. ภาพอนาจารทางออนไลน์  –  ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง

    6. ภายในโรงเรียน  –  ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

กรณีศึกษา  อาชญากรคอมพิวเตอร์ที่สร้างความหายนะให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมซซาชูเซด

ในปี ค.ศ. 1988 นายโรเบิร์ด ที มอริส ได้เข้าศึกษาในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนลซึ่งหลาย ๆ คนยอมรับว่าเขาเป็นนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก่งมากคนหนึ่ง นายมอริส ได้เขียนโปรแกรมไวรัศคอมพิวเตอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในนาม หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)” หรือบางทีเรียกว่า หนอนอินเทอร์เน็ต (Worm internet)” โปรแกรมดังกล่าวยากต่อการตรวจพบหรือลบทิ้งโดยนักเขียนโปรแกรมคนอื่น ๆ
วอร์ม (Worm) ถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถกระจายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่ง โดยผู้ใช้เป็นผู้นำพา แต่ไม่ทำให้ระบบการดำเนินงาน (Operating system) ของคอมพิวเตอร์เสียหายซึ่งต่างจากไวรัส (Virus) ที่เป็นโปรแกรมที่กระจายและฝังตัวบนระบบการดำเนินงานของคอมพิวเตอร์ที่รับไวรัสนั้นเข้าไป และจะกระจายไปยังเครื่องอื่นๆ ที่ใช้ไฟล์ (File) ข้อมูลของเครื่องที่ติดเชื้ออยู่แล้ว

นายมอริส ต้องการให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วอร์ม (Worm) ตัวนี้จะไม่ทำอะไรที่ซ้ำตัวของมันเองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มันฝังตัวเข้าไป การทำซ้ำของวอร์ม (Repeat worm) หลายๆ ครั้งจะส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดขัดหรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แต่ง่ายต่อการตรวจจับ ดังนั้นนายมอริส จึงได้ออกแบบวอร์ม (Worm) ใหม่โดยสามารถถามเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มันฝังตัวอยู่ว่ามีสำเนาของวอร์ม (Worm) หรือไม่ หากพบว่า ไม่มีมันก็จะทำสำเนาบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หากตอบว่า มีมันก็จะไม่ทำสำเนา (Copy) ลงไปอย่างไรก็ดี นายมอริสก็กลัวว่าวอร์ม (Worm) ที่ตนได้พัฒนาขึ้นจะถูกทำลายโดยนักเขียนโปรแกรมคนอื่น ๆ ได้ ถ้าหากเจ้าของแกล้งให้เครื่องสั่งว่า มีดังนั้นนายมอริสจึงเขียนโปรแกรมให้วอร์ม (Worm) สามารถทำซ้ำได้เพียง 7 ครั้งเท่านั้น หากได้รับคำตอบว่า มีอยู่ภายในเครื่องแล้ว อย่างไรก็ตามนายมอริสอาจลืมคิดไปว่าเครื่องคอมพิวเตอร์อาจถูกถามคำถามเดียวกันหลายๆ ครั้งได้ ซึ่งเขาคิดว่าวอร์ม (Worm) จะถูกทำลาย แต่เขาก็คิดว่าคงไม่มีผลเสียหายมากนัก

นายมอริส ได้ใส่วอร์ม (Worm) นี้เข้าไปในระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (Unix) ที่สถาบันเทคโนโลยีแมซซาชูเซต [Massachusetts Institute of Technology (MIT)] เมื่อวันที่ 2 พฤศจิการยน ค.ศ. 1988 เนื่องจากต้องการอำพรางตัวเอง เพราะเขาอยู่ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) อย่างไรก็ดีเรื่องนายมอริสไม่คาดคิดไว้ก็ได้เกิดขึ้น เมื่อวอร์ม (Worm) ได้แพร่ระบาดรวดเร็วเกินคาด และเมื่อนายมอริสพยายามจะร่วมมือกับเพื่อนของเขาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยส่งจดหมายไปบนเครือข่ายถึงวิธีการกำจัดวอร์ม (Worm) นั่นเอง จดหมายข่าวดังกล่าวจึงไม่สามารถส่งไปได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานทหาร ศูนย์วิจัยในสหรัฐอเมริกาล้วนแต่ได้รับผลร้ายจากการระบาดของวอร์ม (Worm) ตัวนี้ทั้งสิ้น ในที่สุดนายมอริสก็ถูกจับได้ และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่ศาลได้รอลงอาญาไว้ นอกจากนั้นยังได้ถูกส่งตัวไปให้บริการสังคมเป็นเวลา 400 ชั่วโมง หรือประมาณ 50 วันทำการ และถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 10,050 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 350,000 บาท

ปัญหาและข้ออภิปราย


1. ความคึกคะนองและอยากลองวิชาของนักศึกษา โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อไปสร้างความเสียหายให้แก่หน่วยงานอื่นนั้น นับว่ามีผลเสียหายอย่างมากต่อทรัพย์สินและความรู้สึกของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครือข่าย หากท่านเป็นผู้ที่อยู่ในสถาบันการศึกษา ท่านจะมีมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ไม่ประสงค์ดีที่บ่อนทำลายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานของท่านอย่างไร
2. จากงานวิจัยเรื่องการรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา พบว่า 2 ใน 3 ของผู้บุกรุกที่ไม่ประสงค์ดี และแอบขโมยข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ นั้นมาจากคนภายในองค์กรเองท่านจะมีแนวทางในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กรอย่างไร
3. จงอธิบายชนิดและชื่อของไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus computer) ที่ท่านรู้จัก พร้อมทั้งอำนาจการทำลายของซอฟต์แวร์ไวรัสดังกล่าวเหล่านั้นว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด และจงเสนอแนะวิธีการทำลายไวรัสดังกล่าว




อ้างอิงบทความโดย : กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น